มีความเสี่ยงใดเมิ่อมีสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิตในประเทศไทย?
ตามกฎหมายไทย ทนายความที่เกี่ยวข้องในคดีพิสูจน์พินัยกรรมควรติดต่อญาติของผู้ตาย อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติไม่เสมอไปที่จะทำเช่นนั้น ดังนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลซึ่งมีญาติอยู่ในประเทศไทยซึ่งเสียชีวิตที่จะติดต่อทนายความผู้มีความรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์พินัยกรรมโดยทันที มีข้อจำกัดในการยื่นข้อโต้แย้งในคดีมรดกที่อยู่ในศาลคืออายุความที่สั้นมาก มันมีความสำคัญต่อญาติที่จะดำเนินการโต้แย้งดังกล่าว หรือยื่นคำร้องขอพิสูจน์พินัยกรรมอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากบ่อยครั้งที่คู่กรณีซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในประเทศไทยต้องการทรัพย์สินจากกองมรดกเช่นกัน
เราจะป้องกันทรัพย์สินที่มีอยู่ของญาติซึ่งเสียชีวิตในประเทศไทยจากการยึดทรัพย์สินที่ไม่ผ่านกระบวนการทางกฎหมายได้อย่างไร?
โดยทั่วไป คำร้องขอพิสูจน์พินัยกรรม จำเป็นต้องถูกยื่นเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหน่วยงาน ธนาคาร หน่วยงานเอกชน และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องถูกบอกกล่าวว่าการพิสูจน์พินัยกรรมกำลังดำเนินการอยู่ และทรัพย์สินทั้งหมดจะไม่สามารถทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนได้จนกว่ากระบวนการพิสูจน์พินัยกรรมจะสิ้นสุด
ฉันจะทำอย่างไรในกรณีที่ญาติคนไทยไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคดีมรดกที่อยู่ในศาลแก่ฉัน และฉันอาศัยอยู่นอกประเทศไทย
ทนายความจำเป็นต้องถูกว่าจ้างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อสอบสวนว่าคดีพิสูจน์พินัยกรรมมีการยื่นต่อศาลแล้วหรือไม่ และถ้ามีการยื่นคำร้องขอพิสูจน์พินัยกรมแล้ว ข้อคัดค้านจำเป็นต้องมีการยื่นต่อศาล ในอนาคตทรัพย์สินจำเป็นต้องถูกสอบสวนและพิจารณา มีความเสี่ยงที่ทรัพย์สินจะสลายหายไป ถ้าไม่เริ่มดำเนินการทันที
ฉันไม่แน่ใจว่าญาติของฉันซึ่งเสียชีวิตในประเทศไทยทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรไว้หรือไม่ ฉันจะสามารถรับมรดกได้หรือไม่?
ญาติของผู้ตายมีสิทธิตามกฎหมายในการติดตามทรัพย์สินของผู้ตายตามในกระบวนการพิสูจน์พินัยกรรมถึงแม้ว่าจะไม่มีพินัยกรรม อย่างไรก็ตามขอบเขตที่จะได้รับมรดกหรือมีสิทธิได้รับมรดกขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ตาย