การฉ้อฉลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
เมื่อมีบุคคล 1.ปกปิดข้อมูลที่ควรได้รับการเปิดเผยและทำให้ได้ทรัพย์สินจากอีกฝ่ายด้วยการทุจริต หรือ 2. หลอกลวงอีกฝ่ายและทำให้อีกฝ่ายทำลายเอกสารสิทธิการกระทำผิดกฏหมายว่าด้วยการฉ้อฉล ซึ่งต้องถูกลงโทษภายใต้กฏหมายอาญาของประเทศไทย
การฉ้อฉลเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา?
ในประเทศไทย การฉ้อฉลสามารถเป็นได้ทั้งคดีแพ่งหรือคดีอาญา หรือทั้งสองอย่างก็ได้
การฉ้อฉลประเภทใดบ้างที่ต้องได้รับโทษตามกฏหมายอาญาของประเทศไทย?
การปลอมเป็นผู้อื่น, การปกปิดข้อมูลสาธารณะ การฉ้อฉลในการจ้างงาน ฉ้อฉลประกัน ฉ้อฉลทรัพย์สิน และอื่นๆ ทั้งหมดนี้สามารถลงโทษได้ตามกฏหมายอาญาของประเทศไทย การฉ้อฉลที่พบบ่อยๆ รวมถึงการฉ้อฉลเรื่องที่ดิน ฉ้อฉลธนาคาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน
การฉ้อฉลเหล่านี้จะได้รับโทษทางอาญาอย่างไร
ผู้ทำการฉ้อฉลในประเทศไทยอาจต้องถูกลงโทษด้วยการถูกจำคุกสูงสุด 3-7 ปีขึ้นอยู่กับการกระทำผิด
ถ้าฉันจะฟ้องร้องคดีการฉ้อฉล ต้องทำอย่างไร?
ในประเทศไทย สามารถแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจและถ้าตำรวจอนุมัติแล้วงเรื่องต่อให้พนักงานอัยการผู้ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจที่จะสั่งฟ้องเป็นคดีอาญา อย่างไรก็ตาม เราสามารถที่จะดำเนินคดีเองผ่านทางทนายความส่วนตัวก็ได้ โดยปกติแล้วจะดีกว่าถ้ามีทนายความอยู้ด้วยในขณะแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถช่วยให้ติดต่อกับทนายความได้ง่ายขึ้น
กฏหมายบัญญัติอายุความเกี่ยวกับการฉ้อฉลไว้อย่างไร?
อายุความคดีฉ้อฉลจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการฉ้อฉล และเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวหรือคดีความผิดอาญาแผ่นดิน การที่คดีพวกนี้เป็นคดีความทางกฏหมายเช่นเดียวกับคดีความอื่นๆ การส่งคำฟ้องอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญมากและผู้เสียหายควรปรึกษาทนายความให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้